การเตรียมตัวในห้องผ่าตัด
1.ท่าทางในขณะเข้ารับการผ่าตัด ได้แก่การนอนหงายและเงยหน้าเล็กน้อย ทั้งนี้เพื่อความสะดวกและปลอดภัย
2.การเช็ดทำความสะอาดบริเวณริมฝีปาก รอบริมฝีปาก และ บริเวณส่วนอื่นๆของใบหน้า ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ
3.การวาดรูปออกแบบ (Surgical Design) บริเวณที่จะผ่าตัด แพทย์ผู้ทำการผ่าตัด มีหน้าที่ออกแบบวาดรูปบริเวณริมฝีปาก เพื่อใช้ประโยชน์ในการผ่าตัด ทั้งนี้ ผู้บริการยอมรับเชื่อใจในการออกแบบของแพทย์ฯ แล้ว
4.การฉีดยาชา โดยใช้ยาชา 1-2% Lidocaine with/without adrenaline
จุดประสงค์ เพื่อระงับความรู้สึกในส่วนที่จะทำหัตถการหรือการผ่าตัด ทำให้ไม่รู้สึกเจ็บบริเวณที่กำลังผ่าตัด แต่ก็อาจจะยังรู้สึกได้บ้าง
ความเจ็บขณะฉีดยาชา การฉีดยาชาทุกครั้ง จ:มีความเจ็บในช่วงเริ่มต้นของการแทงเข็มผ่านผิวหนัง หรือเยื่อบุในช่องปาก (แล้วแต่กรณีที่ใช้) หลังจากนั้นจะมีอาการแสบบริเวณที่เดินยาชา
ระยะเวลาการออกฤทธิ์ของยาชา ปกติออกฤทธิ์นาน 1-3 ชั่วโมง ทั้งนี้ไม่เท่ากันในแต่ละเคส แต่ละคน แต่ละยี่ห้อของยาชา และขึ้นกับปริมาณยาชาที่ฉีด ซึ่งแพทย์ฯเป็นผู้คำนวณปริมาณที่เหมาะสม เมื่อยาชาเริ่มหมดฤทธิ์จะเริ่มรู้สึกเจ็บได้บ้าง ถ้าอยู่ในขณะผ่าตัด ผู้รับบริการสามารถเรียกขอให้ฉีดยาชาเพิ่มเติมได้
การฉีดยาชาแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน ได้แก่ การฉีดยาชาระงับความรู้สึกเส้นประสาท (Local Nerve Block) และการฉีดยาชาระงับความรู้สึกที่เนื้อริมฝีปากโดยตรง (Local Tissue Anesthesia) หลังจากเดินยาชา 1-2 นาที ยาชาจะเริ่มออกฤทธิ์และจะเริ่มมีอาการชา และจะรอเวลาประมาณ 10 -15 นาที เพื่อให้ยาชาและฤทธิ์ของ Adrenaline ออกฤทธิ์เต็มที่ ก่อนเริ่มทำการลงมีดผ่าตัด
การฉีดยาชาเพื่อระงับความรู้สึกที่เส้นประสาท (Local Nerve Block) ด้วยฤทธิ์ของยาชา ทำให้มีอาการชาบริเวณผิวหนังที่เดินยาชาเข้าไปและบริเวณเนื้อเยื่อที่เส้นประสาทแต่ละเส้นไปเลี้ยง
Infraorbital Nerve Block ทั้งสองข้าง เพื่อระงับความรู้สึกที่ริมฝีปากบน จะมีบริเวณอื่นที่ชาตามไปด้วย ได้แก่ เหนือริมฝีปาก ปีกจมูก แก้ม โหนกแก้ม และบริวณใต้ตาข้างเดียวกัน อย่างไรก็ตาม บริเวณมุมปากจะเป็นส่วนที่ชาหลังสุดหรือไม่รู้สึกชา
Mental Nerve Block ทั้งสองข้าง เพื่อระงับความรู้สึกบริเวณริมฝีปากล่าง จะมีบริเวณอื่นที่ชาตามไปด้วย ได้แก่ บริเวณใตริมฝีปากล่าง ร่องน้ำหมาก ไปจนถึงคาง ในข้างเดียว อย่างไรก็ตาม บริเวณมุมปากจะเป็นส่วนที่ชาหลังสุดหรือไม่รู้สึกชา
การฉีดยาชาเพื่อระงับความรู้สึกที่เนื้อริมฝีปากโดยตรง (Direct Tissue Anesthesia) มีจุดประสงค์เพื่อระงับความรู้สึกในส่วนของริมฝีปากส่วนอื่นที่ยังไม่มีอาการชาหลังจากได้รับการฉีดยาชาเพื่อระงับความความรู้สึกที่เส้นประสาทดังกล่าว ข้างต้นแล้ว และเพื่อหวังผลการหดเส้นเลือดของ Adrenaline เพื่อลดการออกของเลือดขณะผ่าตัดริมฝีปาก