Aesthe Holdings Co., Ltd.
Typically replies in a few hours
เอสเธ่คลินิกยินดีต้อนรับ
Start Chat
Lip Lift
ศัลยกรรมยกริมฝีปาก หรือ การยกมุมปาก

การมีริมฝีปากคว่ำ หรือมุมปากตก ทำให้ใบหน้าดูบึ้งตลอดเวลา เพราะลักษณะของรูปปากที่ตกหรือโค้งลงนั้นสามารถมองเห็นได้ชัดเจนบนใบหน้า แม้กระทั่งเวลายิ้มก็ยังทำให้ใบหน้าแลดูเศร้าหมองอยู่ตลอดเวลา คนส่วนใหญ่จึงนิยมแก้ไขโดยการทำศัลยกรรมยกมุมปาก เพื่อช่วยปรับรูปปากให้ดูยกขึ้น ทำให้ใบหน้ามีรอยยิ้ม โดยส่วนมากแล้วมักจะทำไปพร้อมๆ กับการ ศัลยกรรมตัดแต่งริมฝีปาก อื่นๆ เพื่อให้มีรูปทรงปากที่สวยงาม ไปพร้อมกับมีรอยยิ้ม ที่ดูสวยงามอย่างเป็นธรรมชาติมากยิ่งขึ้น

ผู้ที่เหมาะกับการศัลยกรรมยกมุมปาก เหมาะกับผู้ที่ต้องการปรับรูปปากให้สวยงามเข้ารูป ผู้ที่ต้องการให้รูปปากดูยกขึ้น เหมือนอมยิ้ม หรือผู้ที่มีปัญหารูปปากคว่ำ ดูหน้าบึ้ง ริมฝีปากตก กล้ามเนื้อบริเวณมุมปากตก โดยผู้ที่มีปัญหาอาจจะเป็นวัยหนุ่มสาวหรือผู้ที่เริ่มมีอายุ ซึ่งปัญหาจะขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล

ศัลยกรรมยกมุมปาก จะมีอาการบวมหลังผ่าตัดประมาณ 3-5 วัน และเริ่มยุบบวมไปเรื่อยๆ จนกระทั่งหายสนิท จะเห็นรูปทรงปากที่สวยงามเข้ารูปภายใน 3 เดือน ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับการดูแลรักษาหลังการผ่าตัด และสภาพผิวและกล้ามเนื้อ ที่ร่วงโรยตามกาลเวลาของแต่ละบุคคลด้วย

ขั้นตอนของการทำศัลยกรรมริมฝีปาก 

การเตรียมตัวในห้องผ่าตัด 
1.ท่าทางในขณะเข้ารับการผ่าตัด ได้แก่การนอนหงายและเงยหน้าเล็กน้อย ทั้งนี้เพื่อความสะดวกและปลอดภัย 
2.การเช็ดทำความสะอาดบริเวณริมฝีปาก รอบริมฝีปาก และ บริเวณส่วนอื่นๆของใบหน้า ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ 
3.การวาดรูปออกแบบ (Surgical Design) บริเวณที่จะผ่าตัด แพทย์ผู้ทำการผ่าตัด มีหน้าที่ออกแบบวาดรูปบริเวณริมฝีปาก เพื่อใช้ประโยชน์ในการผ่าตัด ทั้งนี้ ผู้บริการยอมรับเชื่อใจในการออกแบบของแพทย์ฯ แล้ว 
4.การฉีดยาชา โดยใช้ยาชา 1-2% Lidocaine with/without adrenaline 
จุดประสงค์ เพื่อระงับความรู้สึกในส่วนที่จะทำหัตถการหรือการผ่าตัด ทำให้ไม่รู้สึกเจ็บบริเวณที่กำลังผ่าตัด แต่ก็อาจจะยังรู้สึกได้บ้าง 
ความเจ็บขณะฉีดยาชา การฉีดยาชาทุกครั้ง จ:มีความเจ็บในช่วงเริ่มต้นของการแทงเข็มผ่านผิวหนัง หรือเยื่อบุในช่องปาก (แล้วแต่กรณีที่ใช้) หลังจากนั้นจะมีอาการแสบบริเวณที่เดินยาชา 
ระยะเวลาการออกฤทธิ์ของยาชา ปกติออกฤทธิ์นาน 1-3 ชั่วโมง ทั้งนี้ไม่เท่ากันในแต่ละเคส แต่ละคน แต่ละยี่ห้อของยาชา และขึ้นกับปริมาณยาชาที่ฉีด ซึ่งแพทย์ฯเป็นผู้คำนวณปริมาณที่เหมาะสม เมื่อยาชาเริ่มหมดฤทธิ์จะเริ่มรู้สึกเจ็บได้บ้าง ถ้าอยู่ในขณะผ่าตัด  ผู้รับบริการสามารถเรียกขอให้ฉีดยาชาเพิ่มเติมได้ 
การฉีดยาชาแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน ได้แก่ การฉีดยาชาระงับความรู้สึกเส้นประสาท (Local Nerve Block) และการฉีดยาชาระงับความรู้สึกที่เนื้อริมฝีปากโดยตรง (Local Tissue Anesthesia) หลังจากเดินยาชา 1-2 นาที ยาชาจะเริ่มออกฤทธิ์และจะเริ่มมีอาการชา และจะรอเวลาประมาณ 10 -15 นาที เพื่อให้ยาชาและฤทธิ์ของ Adrenaline ออกฤทธิ์เต็มที่ ก่อนเริ่มทำการลงมีดผ่าตัด 
การฉีดยาชาเพื่อระงับความรู้สึกที่เส้นประสาท (Local Nerve Block) ด้วยฤทธิ์ของยาชา ทำให้มีอาการชาบริเวณผิวหนังที่เดินยาชาเข้าไปและบริเวณเนื้อเยื่อที่เส้นประสาทแต่ละเส้นไปเลี้ยง 
Infraorbital Nerve Block ทั้งสองข้าง เพื่อระงับความรู้สึกที่ริมฝีปากบน จะมีบริเวณอื่นที่ชาตามไปด้วย ได้แก่ เหนือริมฝีปาก ปีกจมูก แก้ม โหนกแก้ม และบริวณใต้ตาข้างเดียวกัน อย่างไรก็ตาม บริเวณมุมปากจะเป็นส่วนที่ชาหลังสุดหรือไม่รู้สึกชา 
Mental Nerve Block ทั้งสองข้าง เพื่อระงับความรู้สึกบริเวณริมฝีปากล่าง จะมีบริเวณอื่นที่ชาตามไปด้วย ได้แก่ บริเวณใตริมฝีปากล่าง ร่องน้ำหมาก ไปจนถึงคาง ในข้างเดียว อย่างไรก็ตาม บริเวณมุมปากจะเป็นส่วนที่ชาหลังสุดหรือไม่รู้สึกชา 
การฉีดยาชาเพื่อระงับความรู้สึกที่เนื้อริมฝีปากโดยตรง (Direct Tissue Anesthesia) มีจุดประสงค์เพื่อระงับความรู้สึกในส่วนของริมฝีปากส่วนอื่นที่ยังไม่มีอาการชาหลังจากได้รับการฉีดยาชาเพื่อระงับความความรู้สึกที่เส้นประสาทดังกล่าว ข้างต้นแล้ว และเพื่อหวังผลการหดเส้นเลือดของ Adrenaline เพื่อลดการออกของเลือดขณะผ่าตัดริมฝีปาก 


ผลข้างเคียงของการฉีดยาชา 
การรับความรู้สึกเปลี่ยนแปลงไป (Paresthesia ) กรณีการฉีดยาชาระงับความรู้สึกที่เส้นประสาท อาจมีผลให้ผิวหนังชาหรือรู้สึกร้อนเย็นบริเวณที่เส้นประสาทไปเลี้ยงนานกว่าปกติ อันเนื่องมาจากปลายเข็มที่ฉีดยาชา สะกิดโดนเส้นประสาทบาดเจ็บบางส่วนหรือทั้งหมดโดยการฟื้นคืนกลับมาของอาการรับความรู้สึกที่ผิวหนังผิดปกติตั้งกล่าว อาจใช้เวลาสัปดาห์จนถึงมากกว่า 1 ปีขึ้นกับความรุนแรงของการบาดเจ็บของเส้นประสาท หรือ อาจไม่ฟื้นคืนกลับมาเป็นปกติเลยก็ได้ 
Lidocaine Side Effects (ผลข้างเคียงของยาชา) เช่น ตาพร่า มองเห็นภาพซ้อน อาเจียน รู้สึกหนาว หรือ รู้สึกร้อน กระตุก สั่น หายใจช้า ง่วง หัวใจเต้นช้าหรือเร็วผิดปกติ ความดันโลหิตต่ำหรือสูงผิดปกติ ใจสั่น ผื่นขึ้นตามตัว หายใจสั้น ชาหรือรู้สึกเหมือนมีอะไรแหลมๆทิ่มที่ริมฝีปากและในปาก เป็นต้น 
Lidocaine Allergy (การแพ้ยาชา) เช่น ตุ่มแดง ผื่นขึ้นตามตัว เป็นต้น 
Lidocaine Toxicity (ยาชาเป็นพิษ) เช่น อาการชาไปทั้งตัว ใบหน้ากระตุก กระสับกระส่าย ประหม่า จิตตก สับสน เวียนหัว เสียงดังในหู พูดไม่ชัด อาการชักเกร็งกระตุก การกดประสาทส่วนกลาง เป็นต้น 
Adrenaline Effects (ผลข้างเคียงของอะดรีนาลีน) เช่น คลื่นไส้อาเจียน หายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็ว หัวใจเต้นแรง ใจสั่น ผิวหนัง ซีด ปวดหัว เหงื่อออก เวียนหัว ประหม่า กระสับกระส่าย วิตกกังวล เป็นต้น 
ขั้นตอนขณะผ่าตัดริมฝีปาก ได้แก่ การลงมีดบริเวณที่จะผ่าตัด การตัดเนื้อเยื่อริมฝีปากบางส่วนออก ตามข้อ 1.1 และ การเย็บแผล 

This website uses cookies for best user experience, to find out more you can go to our Privacy Policy  and  Cookies Policy